Trick


โภชนาการสำหรับนักจักรยาน
               
                เรื่องของอาหารการกินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักจักรยาน  แม้จะใช้หลักโภชนาการกับคนทั่วไป   แต่ก็มีข้อแตกต่างอยู่บ้าง   ตัวอย่างเช่น   ปริมาณอาหารที่กิน   นักจักรยานที่ฝึกหนักอาจกินอาหารเป็นปริมาณมากจนคนอื่นตกใจ
                อย่างไรก็ดี  อาหารวำหรับนักจักรยาน  ก็หนีไม่พ้นหลักการเบื้องต้นของการกินอาหารเรากินอาหารเข้าไปเพื่อ
                หนึ่ง   เป็นพลังงานความร้อนช่วยให้เราสามารถรักษาอุณหภูมิในร่างการให้คงที่   เพื่อการทำงานที่ดีของระบบต่างๆ
                สอง   เป็นพลังงาน   สำหรับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย   ซึ่งต้องใช้พลังกล้ามเนื้อ
                สาม   ได้น้ำ   เพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกายและการไหลเวียนของเลือด
                สี่        ได้วัตถุดิบ   สำหรับเสริมสร้างแลซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย
                ห้า       ได้เอ็นไซยม์   อันเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมีต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมด

เพื่อรับวัตถุประสงค์  5  ประการข้างต้นอาหารที่เรากินต้องประกอบด้วย
1. น้ำ
ราว  70%  ของร่างกายเราประกอบขึ้นด้วยน้ำ   เวลาเราออกกำลังกายร่างกายของเราจะ
เกิดความร้อนขึ้นอย่างมากมาย   วิธีระบายความร้อนได้ดีที่สุดอย่างหนึ่งคือการขับเหงื่อและการระเหยของเหงื่อเราจึงเตือนตัวเองทุกครั้งที่ปั่นจักยานนานเกิน  20  นาที   และก่อนการออกกำลังนักๆควรดื่มน้ำให้เต็มที่จนรู้สึกปวดฉี่   และควรเป็นน้ำปล่าวธรรมดา   ข้อควรจำอย่างหนึ่ง  คืออย่ารอจนรู้สึกกระหายแล้วจึงดื่มน้ำเพราะกว่าจะกระหายก็เสียน้ำไปมากแล้ว
2. แป้งและข้าว(คาร์ดบไฮเดรต)
                ข้าวป็นอาหารหลักของคนไทย   คนทำงานอย่างพวกเราต้องกินข้าว  เวลากล้ามเนื้อทำงานจะได้พลังงานจากสองแหล่งไหญ่ๆ คือสารอาหารจำพวกแป้งที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อและตับในรูปของ glycogen และอีกแหล่งคือจากไขมัน   จะสังเกตุเห็นว่าพวกนักกีฬาที่ใช้แรงมากๆ  จะกินข้าวจุเหลือกำลังแต่ไม่อ้วน  เพราะกินเข้าไปเท่าไหร่ร่างกายนำไปใช้หมดไม่เหลือเก็บไว้เป็นไขมัน   พลังงานเหล่านี้จะได้มาจากอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตได้แก่  ข้าว  ขนมปัง  ก๋วยเตี๋ยว  บะหมี่  มักโรนี  เผือก  มัน  ผลไม้  เนื้อสัตว์และถั่ว  แต่สองอย่างหลังจะให้โปรตีนและไขมันด้วยในเปอร์เซ็นที่ค่อนข้างมาก   ถ้าจะกินของหวานควรเลือกผลไม้และน้ำผลไม้ซึ่งจะให้สารอาหารเช่น  วิตามิน  เกลือแร่  และไฟเบอร์  จะดีกว่าขนมที่ทำจากน้ำตาล

3. ไขมัน
                สำหรับนักกีฬาไขมันเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ   เรียกว่าถ้าขาดไขมันเห็นจะต้องเลิกพูดเรื่องออกกำลังกายไปเลย   ไขมันมีทั่วไปทั้งในพืชและสัตว์   ปริมาณไขมัที่แนะนำให้บริโภคต่อวันคือไม่เกิน 30%  ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมด   ควรให้มีไขมันจากพืชคือกรดไขมันไม่อิ่มตัวอย่างน้อย  10% เพราะกรดไขมันชนิดนี้ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด
4. โปรตีน
                ความต้องการโปรตีนของนักกีฬาเกือบไม่แตกต่างจากคนรรมดา   คือจะมากกว่าก็เพียงเล็กน้อย เช่นคนธรรมดาที่ไม่ออกกำลังกายต้องการโปรตีน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม   นักกีฬาต้องการราว 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม   แต่แหล่งพลังงานสำหรับกล้ามเนื้อไม่ใช่โปรตีน   หากแต่เป็นสารคาร์โบไฮเดรตดังที่กล่าวมาแล้ว   ฉะนั้นการกินอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนอาจบ่อนทำลายการออกกำลัง  โปรตีนส่วนที่ร่างกายได้รับจะถูกขับถ่ายออกทางไตคือกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัสสาวะ  นับเป็นฉี่ที่มีราคาแพงอย่างน่าใจหาย”   เราจึงควรบริโภคโปรตีนแต่พอดีๆ และอาศัยโปรตีนจากหลายๆแหล่งเนื้อสัตว์บ้าง   พืชบ้างซึ่งได้แก่พืชจำพวกถั่ว
                5. วิตามิน
                วิตามินเป็นสารที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อยๆ   เรียกว่าพอเป็นกระสายยา   สำหรับการเผาผลาญสารอาหารตัวอื่นหรือเพื่อช่วยในการทำงานต่างๆของร่างกาย   วิตามินอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มไหญ่ๆ   คือวิตามินที่ละลายน้ำได้  ได้แก่วิตามินบีทั้งหมดและวิตามินซีกับพวกไม่ละลายน้ำ  ได้แก่  เอ ดี อี  และเค ซึ่งกลุ่มหลังจะสะสมในร่างกายถ้ากินเป็นจำนวนมากก่อให้เกิดอาการความดันในสมองขึ้นสูงทำให้ปวดหัวและชัก   นักกีฬาอาจมีความต้องการวิตามินบีมากกว่าคนธรรมดาเล็กน้อยแต่นักกีฬากินอาหารมากกว่าคนทั่วไปจึงน่าจะได้สารอาหารตัวนี้เพียงพอ   โดยเฉพาะถ้ากินอาหารครบหมู่และได้สัดส่วน


                6.  เกลือแร่
ร่างกายเราต้องการเกลือแร่มากมายกว่า 20 ชนิด   แต่มีความสำคัญในแง่การกีฬาเพียงไม่กี่อย่าง
อย่างแรก   คือเกลือแร่ที่สูญเสียขณะออกกำลังกายซึ่งโดยมากออกไปทางเหงื่อและในการใช้พลังงาน   ได้แก่โซเดียม และโปตัสเซี่ยม
อย่างที่สอง  คือพวกเหล็ก  อันนี้นักกีฬาผู้หญิงอาขต้องระวังนิดหน่อยเพราะจากการสำรวจพบว่านักกีฬาหญิงขาดธาตุเหล็กบ่อยๆ   นอกจากนี้เหล็กยังมีบทบาทในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย   การขาดเหล็กจึงมีผลให้ร่างกายอ่อนแอ  ติดเชื้อและเป็นโรคได้ง่าย   ตัวอย่างอาหารที่มีปริมาณเหล็กสูงได้แก่ เนื้สัตว์(เนื้อแดง)  เป็ด  ไก่  ปลา  ตับ   พืชผักใบเขียวหลายชนิดก็มีปริมาณเหล็กสูงแต่การดูดซึมไปใช้จะสู้เหล็กจากเนื้อสัตว์ไม่ได้   กินอาหารที่มีวิตามินซีสูงร่วมกับอาหารที่มีเหล็กจะช่วยให้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
       
     7. ไฟเบอร์
ใยอาหารเป็นส่วนประกอบของอาหารที่คนเราไม่สามารถย่อยได้  เป็นกากใยจึงเหลือออกมาเป็นส่าวนหนึ่งของอุจจาระ   ใยอาหารสามารถป้องกันการเกิดโรคของลำไส้ได้หลายชนิด  เช่น  ริดสีดวงทวาร ติ่งเนื้อในลำไส้ไหญ่  ถุงโพรงของผนังลำไส้ไหญ่  มะเร็งของลำไส้ไหญ่เป็นต้น   และยังสามารถป้องกันและรักษาโรคอีกหลายอย่าง  เช่น  เบาหวาน  ไขมันในเลือดสูง  อ้วน  เป็นต้น   เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าใยอาหารมีมากในข้าว(ข้าวกล้อง  ข้าวซ้อมมือ) ผัก  ผลไม้ต่างๆ  ซึ่งก็เป็นอาหารหลักของคนไทยอยู่แล้ว   และอาหารไทยมีสารอาหารที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดอย่างครบถ้วนหลากหลายทั้งสด  อร่อยแถมราคาไม่แพง  ฉะนั้นนักกีฬาจึงควรทานอาหารไทยเป็นหลัก 




ขอบคุณข้อมูลจาก  คู่มือจักรยานเพื่อสุขภาพ.นายแพทย์กฤษฎา  บานชื่น. 2533
                                

Search This Blog

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ blog ด้วยนะครับ